วันนี้แอดมินขอพาทุกๆ คนไปชม “บ้านอินทร์” บ้านเก่าครึ่งปูน-ครึ่งไม้สไตล์พื้นถิ่นดั้งเดิม ผลงานการออกแบบจากทีมงานสถปนิกที่มีความชำนาญเกี่ยวกับงานโดยเฉพาะอย่างYangnar Studio ซึ่งต้องบอกเลยว่าบ้านหลังนี้บรรยากาศเหมาะแก่การพักผ่อนมากๆ สำหรับใครที่กำลังมองหาไอเดียในการสร้างบ้านสวน เพื่อรองรับชีวิตหลังวัยเกษียณ เราไปชมตัวอย่างบ้านหลังนี้กันเลย
บ้านสวนสไตล์พื้นถิ่น
ผลงานและรูปภาพ : Yangnar Studio
เจ้าของบ้าน : คุณปานเดช บุญเดช-คุณรุ่ง ตั้งตะธารากุล
เรียบเรียงโดย : iHome108
“บ้านอินทร์” เป็นบ้านเก่าครึ่งปูนครึ่งไม้ดั้งเดิมที่ติดมากับที่ดิน ซึ่งคุณวิภาดา กฤษณามะระ ซึ่งได้ต่อเติมดัดแปลงให้เข้ากับการใช้งานหลายครั้งในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา หลังจากได้เฝ้าดูการก่อสร้างของบ้านขนำน้อยโดยทีมยางนาสตูดิโอ จึงมั่นใจอยากให้ทีมยางนาเป็นผู้ปรับปรุง “บ้านอินทร์” อีกครั้งให้เป็นบ้านหลังสุดท้ายของคุณแม่ และรองรับแผนอนาคตในวัยเกษียณ
โดดเด่นอาคารถูกออกแบบโดยประยุกต์การใช้งานแบบท้องถิ่น กับวัสดุที่หาได้ในพื้นที่ อย่างการนำชุดประตูหน้าต่างไม้ที่มีอยู่เดิมทั้งหมดมาจัดวางตำแหน่งใหม่ และเปลือกอาคารที่ถูกออกแบบให้สัมพันธ์กับพื้นที่ภายใน ตัวอย่างเช่น โถงทางเข้าบ้าน สถาปนิกได้เปิดหลังคาในส่วนที่ต่อเติมจากบ้านหลักให้ทะลุถึงชั้น 2 รื้อผนังชั้น 2 แล้วใส่ราวกันตก ตั้งเสาใหม่ก่อผนังอิฐบล็อกเป็นฐาน ผนังโครงเหล็กมีหน้าต่างบานกระทุ้ง ด้านบนจะเป็นกระจกสลับกับไม้ บนสุดของผนังจะเป็นช่องลมกรุด้วยมุ้งลวด เปลือกอาคารภายนอกผนังส่วนนี้จึงมีไม้ระแนงถึง 3 แบบ ตามการใช้งานแต่ละช่วงผนัง
. . . แผนในอนาคตสำหรับบ้านอินทร์คือ ต้องการให้บ้านหลังนี้เป็นพื้นที่ส่วนกลางสำหรับเพื่อนๆ ที่มีวิถีชีวิตคล้ายๆ กัน ต้องการใช้ชีวิตเรียบง่าย พึ่งพาตนเอง และต้องการมาพัฒนาพื้นที่และใช้ชีวิตด้วยกันในช่วงเกษียรอายุ จ้างผู้จัดการ พยาบาล แม่บ้าน คนสวน และช่างเป็นส่วนกลางร่วมกัน ดังนั้นการวางแปลนภายในจึงให้ความสำคัญกับความต่อเนื่องของพื้นที่ เพื่อง่ายในการปรับเปลี่ยนการใช้งานในอนาคต
ครัวเป็นหัวใจของบ้าน นอกจากทำอาหาร ทานข้าว ยังใช้เป็นที่รับแขกด้วย โต๊ะกลาง(ไอส์แลนด์)ถูกดัดแปลงจากโต๊ะจัดเลี้ยงของคุณตา เปลี่ยนท็อปเป็นกระเบื้อง เพิ่มรัดขาโต๊ะด้านล่างเป็นที่วางของ สถาปนิกได้ออกแบบช่องแสงเป็นฝาไหล มีมุกที่ยื่นออกไปสำหรับคว่ำจาน กันสาดบริเวณแท่นปูนเปลือยตั้งเตาไฟอั้งโล่ ทุกอย่างสอดคล้องกับการใช้งานของครัวภายใน
บริเวณรอบๆ บ้านเต็มไปด้วยต้นไม้ การแก้ปัญหาสัตว์มาอาศัยอยู่ในฝ้าเพดานชั้นล่าง คือการโชว์โครงสร้างหลังคา และใช้หลังคาสองชั้น โดยมีหลังคาหญ้าแฝกเป็นฉนวนกันความร้อน การป้องกันความร้อนจากหลังคาบ้านชั้น 2 ใช้วิธีเปิดโล่งให้ความร้อนลอยขึ้นสูง เพิ่มช่องบานเกล็ดไม้ในการระบายอากาศ
.พื้นที่สำคัญของแปลนภายในใหม่ที่ต้องการคือ ห้องนอนส่วนตัวคุณแม่ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบจบในห้องเดียว ปลอดภัยในการใช้งานกับผู้สูงอายุ และต้องยืดหยุ่นให้คุณแม่ปรับเปลี่ยนการวางเฟอร์นิเจอร์ด้วยตัวเอง
รูปแบบของอาคารถูกออกแบบโดยประยุกต์การใช้งานแบบท้องถิ่น กับวัสดุที่หาได้ในพื้นที่ การนำชุดประตูหน้าต่างไม้ที่มีอยู่เดิมทั้งหมด มาจัดวางตำแหน่งใหม่ และเปลือกอาคารที่ถูกออกแบบให้สัมพันธ์กับพื้นที่ภายใน
.
ชื่อโครงการ : บ้านอินน์
ประเภทอาคาร : ต่อเติมบ้าน
ชื่อบริษัท : Yangnar studio
ที่ตั้งโครงการ : อินทร์บุรี สิงห์บุรี ประเทศไทย
ปีที่เสร็จ : 2562
พื้นที่ : 342 ตร.ม.
หัวหน้าสถาปนิก : เดโชพล รัตนสัจธรรม/ยุทธนา ญาณวงศ์
ออกแบบภายใน : ปานเดช บุญเดช
ผู้ควบคุมงานสร้าง : ณัฐพล พงษ์สวัสดิ์
ทีมผู้สร้าง : ทีมผู้สร้างสตูดิโอ Yangnar
เครดิตช่างภาพ : รุ่งกิจ เจริญวัฒน์
Materialization : RC & โครงสร้างไม้ที่มีอยู่ (พร้อมคอนกรีตบล็อก & ผนังไม้)
.
ถ้าหากเพื่อนๆ ท่านใดที่สนใจแบบบ้านสวยๆ สไตล์บ้านไม้พื้นถิ่น ซึ่งเน้นการออกแบบให้เข้ากับยุคสมัย แต่ยังคงกลิ่นอายบ้านไทยเดิมๆ รองรับไลฟ์สไตล์ในการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ได้อย่างลงตัว สามารถเข้าไปชมผลงานการออกแบบได้จากทางเพจYangnar Studio หรือติดต่อสอบถามตามข้อมูลด้านล่างนี้ได้ค่ะ
ช่องทางการติดต่อ
Facebook : Yangnar Studio